พระบรมราโชวาท
งานของชาติ
เป็นงานที่กว้างขวาง
ประกอบด้วยงานทุกด้าน
ทุกระดับ
อันสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องถึงกันหมด
โดยแต่ละอย่าง
ต่างต้องอาศัยและเกื้อกูลสนับสนุนกัน
อย่างสอดคล้องพอเหมาะพอดี
จึงจะสัมฤทธิ์ผล ที่ทำให้ชาติบ้านเมืองมั่นคงและเจริญก้าวหน้าไปได้
ดังนั้น
ข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงานของแผนดิน
จึงพยายามปฏิบัติตน
ปฏิบัติงาน
ให้สัมพันธ์ประสานงานกับบุคคลอื่น
ฝ่ายอื่นให้ได้
**
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
ปี 2540
ในบ้านเมืองเราทุกวันนี้มีเสียงกล่าวกันว่า
ความคิดของคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อม
ความประพฤติที่เป็นความทุจริตหลายอย่างมี
ถ้าที่จะกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปพากันยอมรับ
และสมยอมให้กระทำกันได้เป็นธรรมดา
สภาพการณ์เช่นนี้ย่อมทำให้วิถีชีวิตของแต่ละคน
มืดมัวลงไป
เป็นปัญหาใหญ่ที่เหมือนกระแสคลื่น
อันไหลบ่าเข้ามาท่วมทั่วไปหมด
จำเป็นต้องแก้ไข
ด้วยการช่วยกันฝืนคลื่นที่กล่าวนั้น
พระบรมราโชวาท
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คัดมาจากวรสารข่าวเกษตร
ฉบับที่ 465 เดือนพฤษภาคม 2542
****************************
จะต้องรักษา
อุดมคติ จรรยา
ความสุจริต
และมโนธรรม
ไว้โดยรอบคอบเคร่งครัด
เสมอด้วยรักษาชีวิตของตนเอง
***
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
พระบรมราโชวาทคัดมาจากวรสารข่าวเกษตร
ฉบับที่ 464 ปีที่ 19
เดือนมิถุนายน
2542
ในบ้านเมืองนั้น
มีทั้งคนดีและคนไม่ดี
ไม่มีใครทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด
การทำให้ชาติบ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย
จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี
หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี
ให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดี
ไม่ให้มีอำนาจ
ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้
***
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
พ.ศ 2540
********************************
คนโดยมากไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระ
เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น
แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองข้างหน้า
ไม่มีใครปิดทองข้างหลังพระเลย
พระจะเป็นที่งานสมบูรณ์ไม่ได้
***
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
พ.ศ 2540
จงเป็นคนที่มั่นคงในสัตย์สุจริต
และถูกต้องตามทำนองครองธรรม
***
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
พระบรมราโชวาทคัดมาจากข่าวเกษตร
ฉบับที่ 467 ปีที่ 19
เดือนสิงหาคม 2542
**************************
การปฏิบัติราชการให้ดีนั้น
คือทำให้สำเร็จทันการ
และให้ได้ผลเป็นประโยชน์แต่ทางเดียว
ซึ่งจะทำได้
เมื่อบุคคลมีวิชาความสามารถ
และมีปัญญาความคิดพิจารณา
เห็นสิ่งที่เป็นคุณ
เป็นโทษอย่างชัดเจน ถูกตรง
***
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
พ.ศ 2540
กฎหมายนี้
มีไว้สำหรับให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อย
ทุกสิ่ง
ทุกอย่าง จึงต้องมีกฎเกณฑ์
ถ้าประชาชน
มีความรู้พอใจกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
ก็จะทำให้การปกครองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
***
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
พ.ศ.2540
**************************
ความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ระหว่างผู้ที่จะพัฒนา
และผู้อยู่ในกลุ่มชน
จะเป็นหมู่บ้าน จะเป็นตำบล
หรือจะเป็นอำเภอ
เป็นจังหวัด และประเทศ
ต้องมีความสามัคคีกลมเกลียวกัน
ไม่ขัดซึ่งกันและกัน
จึงจะพัฒนาได้
***
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
พ.ศ 2540
*********************************
ความจริง
การปกครองของเมืองไทยเรา
ก็ใช่ว่า
จะต้องหยุดนิ่งคงเดิมเสมอ
ต้องเปลี่ยนแปลง
ด้วยเหตุผล ค่อย ๆ ดัดแปลง
ให้เหมาะสมแก่สภาพของประเทศ
แก่สภาพและนิสัยของประชาชน
***
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
พ.ศ 2540
*********************************
เรื่องป่า 3
อย่างคือ ไม้ฟืน ไม้ผล
ไม้สร้างบ้าน
ถ้าเราทำให้มีประโยชน์
คือ รักษาอนุรักษ์ดิน
เป็นต้นน้ำ
ลำธาร
ชาวบ้านเขาจะรักษาให้เราด้วย
เขาไม่ทำลายและใครมาทำลายเขาก็ป้องกัน
***
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
พ.ศ 2540
*********************************
การที่จะทำงานเพื่อความมั่นคงและก้าวหน้านั้น
มิใช่ก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่ของแต่ละคนเท่านั้น
จะต้องมีความร่วมมือสัมพันธ์กัน
ระหว่างหน่วยงานทุกหน่วยงาน
เพื่อให้งานรุดหน้าไปพร้อมเพรียงกัน
ไม่มีลดหลั่น
และมีการประสานสัมพันธ์กันให้ดี
***
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
พ.ศ 2540
*********************************
บ้านเมืองมั่นคง คือ
ทำให้บ้านเมืองมั่นคง
ด้วยการพัฒนาชนบท
ด้วยการพัฒนาให้ประชาชนทั่วไป
มีความอยู่ดีกินดี
มีความมั่นคง
***
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
พ.ศ 2540
*********************************
ชาติของเรารักษาเอกราชอธิปไตย
มาได้จนถึงทุกวันนี้
ก็ด้วยความสามัคคี
คนไทยเราแต่ละคนรู้จักประโยชน์ส่วนรวมของชาติ
รู้จักปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องเกื้อกูลกัน
ผลการปฏิบัติของเรานั้น
จึงเกิดเป็นพลังอันยิ่งใหญ่
ซึ่งสามารถกำจัดและป้องกันภัยต่าง
ๆ
มิให้ทำอันตรายแก่เราได้
***
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
พ.ศ 2540
***************** ****************
จุดหมายสำคัญของการรักษาความมั่นคงของบ้านเมืองนั้น
อยู่ที่การทำให้ประชาชนสามารถปกครองรักษาถิ่นฐานของตนเองได้
ทางราชการมีหน้าที่
ต้องช่วยเหลือสนับสนุนทางวิชาการ
ด้านเทคนิค
และด้านเศรษฐกิจสังคม
เพื่อให้เขาช่วยตัวเองและพัฒนาตัวเองได้
***
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
พ.ศ 2540
ท่านเป็นผู้ที่ได้ร่วมทุก
ร่วมสุข
กับราษฎรในท้องที่ของท่านมาอย่างใกล้ชิด
ราษฎรย่อมต้องหวังพึ่งท่านเมื่อมีความเดือดร้อน
จึงหวังว่าท่าน
จะเอาใจใส่ดูแลความเป็นอยู่ของเขา
จงพยายามบำเพ็ญตนให้สมกับตัวอักษร
ที่ตราหน้าหมวกเครื่องแบบของท่านที่ว่า
ระงับทุกข์
บำรุงสุข
***
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
พ.ศ 2540
*********************************
การพัฒนาชนบทเป็นงานที่สำคัญ
เป็นงานยาก
เป็นงานที่จะต้องให้ได้ด้วยความสามารถ ด้วยความเฉลียวฉลาด คือ ทั้งเฉลียว ทั้งฉลาด
ต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ใครอยากหากิน
ขอให้ลาออกจากตำแหน่งไปทำการค้าดีกว่า
***
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
พ.ศ 2540
ยังไม่พูดถึงคำที่ทุกครั้งเคยพูดว่า
ต้องสามัคคี
ต้องอย่าขัดขากันมากเกินไป
แต่ไม่ได้หมายความว่า
จะต้องมีการทำแบบอย่างบางคนนึกจะทำ
คือจะต้องให้ทุกคนมีโอกาสทำงานตามหน้าที่
และเมื่อทำงานตามหน้าที่แล้ว
ก็หวังดีต่อผู้อื่น
อันนี้เป็นหลักที่สำคัญ
คือทำงานด้วยการเห็นอกเห็นใจกัน
และทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร
***
พระบรมราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากหนังสือประชาคมอำเภอแนวคิดและแนวทางปฏิบัติ
สำนักบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
วิถีชีวิตของบุคคลนั้น
ย่อมมีทั้งภัย
ทั้งอุปสรรค ทั้งเคราะห์ร้าย
ผ่านมาเนื่อง
ๆ ยากที่จะหลีกเลี่ยง
ไม่มีผู้ใดจะอยู่เป็นสุขอย่างเดียวได้
ทุกคนจึงต้องเตรียมกาย
เตรียมใจ
ไว้ให้พร้อมทุกเวลา
ที่จะเผชิญ
จะแก้ไขความไม่ปกติสุขเดือดร้อนต่าง
ๆ
ด้วยเหตุผล
หลักวิชาความถูกต้อง
ความรอบคอบ
อดทน
และด้วยความสามัคคีธรรม
***
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากหนังสืออ้างอิงสัมมนาการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
ปี พ.ศ.2539
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
กรมการปกครอง
การพัฒนาประเทศ
จำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น
ต้องสร้างพื้นฐาน
คือความพอมี พอกิน พอใช้
ของประชาชนส่วนใหญ่
เป็นเบื้องต้นก่อน
เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพอสมควร
และปฏิบัติได้แล้ว
จึงค่อยสร้างความเจริญ
และฐานเศรษฐกิจที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป
***
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกระทรวงมหาดไทย
ปี พ.ศ 2542
*********************************
จะต้องเร่งกระทำภาระหน้าที่
ให้สำเร็จลุล่วงไปโดยพลัน
ด้วยความรู้
ความสามารถ
ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ด้วยไมตรีจิตมิตรภาพ
และความปรารถนาดี
***
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
พ.ศ 2540
*********************************
จะต้องยึดมั่นในผลประโยชน์ของแผ่นดิน
และความถูกต้องเป็นธรรม
ในการปฏิบัติหน้าที่ของราชการ
***
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
คัดมาจากปฏิทินกรมการปกครอง
พ.ศ 2540
*********************************
ความเพียรที่ถูกต้องเป็นธรรมและพึงประสงค์นั้น
คือ
ความเพียรที่จะกำจัดความเสื่อมให้หมดไป
และระวังป้องกันมิให้เกิดขึ้นใหม่อย่างหนึ่ง
กับความเพียรที่สร้างสรรค์ความดี
ความเจริญให้เกิดขึ้น
และระวังรักษาไว้มิให้เสื่อมสิ้นไปอย่างหนึ่ง
ความทั้งสองประการนี้
เป็นอุปการะอย่างสำคัญ
แก่การปฏิบัติตนปฏิบัติงาน
ถ้าทุกคนในชาติจะได้ตั้งตน
ตั้งใจอยู่ในความเพียรดังกล่าว
ประโยชน์และความสุข
จะบังเกิดขึ้นพร้อมทั้งส่วนรวม
และประเทศชาติของเรา
ก็จะสามารถรักษาความเป็นปกติมั่นคงไว้ได้
พร้อมกับพัฒนาให้เจริญรุดหน้าได้ดังปรารถนา
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คัดมาจากวารสารข่าวเกษตรฉบับที่
467 ปีที่ 19 เดือนกันยายน พ.ศ 2542
*********************************
ผู้ที่ทำดี
มีความซื่อสัตย์ สุจริต
อย่าท้อใจ
***
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
***
พระบรมราโชวาทคัดมาจากข่าวเกษตรฉบับที่
466
ปีที่ 19
เดือนกรกฎาคม 2542
***
ทุกคนจึงควรจะได้สนใจ
สังเกตุศึกษาเรื่องราวบุคคล
และสิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อม
และเกี่ยวข้องกับตัวเองให้มาก
อย่าละเลยหรือมองข้ามแม้สิ่งเล็กน้อย
เช่น ต้นหญ้า
ซึ่งถ้าศึกษาพิจารณาให้ดี
ก็จะก่อให้เกิดปัญญาได้
หญ้านั้นมีทั้งหญ้าที่เป็นวัชพืชซึ่งเป็นโทษ
และหญ้าที่มีคุณค่า
อย่างหญ้าแฝก
ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ
เพราะมีรากหยั่งลึกแผ่กระจายลงไปตรง
ๆ
ทำให้อุ้มน้ำและยึดเหนี่ยวดินได้มั่นคง
และมีลำต้นชิดติดกันแน่นหนา
ทำให้กักตะกอนดินและรักษาดินได้ดี
คนเราก็เช่นกัน
มีทั้งบุคคลที่มีชีวิตอยู่
โดยเปล่าประโยชน์
และบุคคลที่มีชีวิตอย่างมีคุณค่า
ต้นหญ้าจึงเป็นบทเรียนได้อย่างดีเลิศ
สำหรับนำมาพิจารณาเทียบเคียง
ให้คติในการดำเนินชีวิตของบุคคล
ว่าควรจะประพฤติปฏิบัติตนอย่างหญ้าแฝก
ซึ่งมีแต่สร้างประโยชน์
และความมั่นคงเป็นปึกแผ่นให้แก่ตนเองและแก่แผ่นดินอันเป็นที่อยู่อาศัย ***
****
พระบรมราโชวาท
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
*****